Responsive image
More Services


Responsive image


Our Location


Production House คืออะไร?
โปรดักชั่นเฮ้าส์ คือบริษัทรับผลิตวิดีโอประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น วิดีโอโฆษณา, Company Profile, วิดีโอไฮไลท์ หรืออื่นๆ โดย Production House ของเรารับทำวิดีโอทุกรูปแบบ โดยมีขั้นตอนในการทำงานดังนี้
➣ ขั้นตอนที่ 2: Production (ออกกองถ่ายทำวิดีโอ)
ทีมถ่าย
ทีมไฟ
ทีมเสียง
ทีมอาร์ต
ทีมนักแสดง
ทีม Service

คิดและนำเสนอไอเดียเพื่อนำไปพัฒนาต่อ (Create idea development)
จุดเริ่มต้นของงานโฆษณา หรือ งานวิดีโอทุกชิ้นจะเริ่มจากการทำ Idea วาง Concept ของไอเดีย และการวางโครงเรื่อง การหา Reference ที่จะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อนำไปเสนอขายกับลูกค้า จากนั้นเราก็นำ Idea ที่เสนอลูกค้าผ่านมาลงรายละเอียดต่อ เพื่อทำให้โครงเรื่องมีความสมบูรณ์ขึ้น อย่างเช่น การทำ Outline หรือการลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ตนจนจบเรื่อง เพื่อทำให้ Idea มีภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
Responsive image
สร้างสตอรี่บอร์ด (Create Storyboard)
หลังจากที่ไอเดียเป็นรูปเป็นร่างแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการนำไอเดียทำสตอรี่บอร์ด ซึ่งมันคือการนำไอเดียมาทำให้กลายเป็นภาพเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนตามเนื้อเรื่องโดยมีรายละเอียดที่ชัดเจน เช่น ลำดับการเล่าเรื่อง มุมภาพ คำอธิบายภาพ รวมไปถึงคำอธิบายใต้ภาพต่างๆที่จะทำให้คนที่ดูเห็นภาพชัดเจนขึ้น เช่น เคลื่อนกล้องอย่างไร? นักแสดงกำลังพูดคุยอะไรกัน? เป็นต้น โดยการทำ Storyboard นั้นสามารถได้จากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การวาด หรือการนำภาพตามวิดีโออื่นๆมาใส่ ซึ่งการทำ Storyboard นั้นมีความจำเป็นอย่างมากกับการทำวิดีโอทุกชิ้น เพื่อทำให้ทุกฝ่ายเห็นภาพเดียวกัน ไม่ว่าจะทีมคนทำ หรือ ลูกค้า
Responsive image
เขียนสคริปต์ (Create Script)
Script หรือบทพูดของนักแสดงที่่ทำให้เนื้อเรื่องเดินไปข้างหน้า หรือใช้เพื่อสื่อสารอารมณ์หรือ Massage ที่ผู้ทำต้องการสื่อไปหาคนดู ซึ่ง Script นั้นสามารถใช้เป็น Dialogue ระหว่างนักแสดงก็ได้ หรือจะใช้เพื่อเป็น Voice Over ในการเล่าเรื่อง ก็ทำได้เช่นกัน
Responsive image
สร้างสตอรี่บอร์ดสำหรับถ่ายทำ (Create shooting board)
ขั้นตอนหลังจากที่ Storyboard เรียบร้อยแล้ว เราก็นำสตอรี่บอร์ดมาขยายให้ละเอียดขึ้นให้กลายเป็น Shooting Board หรือถ้าแปลไทยตรงตัวก็คือ บอร์ดที่ใช้สำหรับถ่ายทำ โดยขั้นตอนนี้จะเหมือนการขยาย Shot จาก สตอรี่บอร์ดให้ละเอียด แล้วลงรายละเอียดทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นในวิดีโอให้ออกมาเป็นภาพ
Responsive image
คัดเลือกนักแสดง (Casting)
เพื่อให้หานักแสดงที่จะมาเล่นในเรื่อง โดยการคัดเลือกหานักแสดงจะแบ่งออกเป็น 2 วิธี ดังนี้
1. เลือกหานักแสดงด้วยการใช้ทีม Casting โดยการเรียกนักแสดงมาลองทดสอบหน้ากล้องเพื่อแสดงในบทบาทนั้นให้ดูจริงๆ ซึ่งจะทำให้เราเห็นมองเห็นภาพมากขึ้นว่านักแสดงคนไหนเหมาะหรือไม่เหมาะกับงานทั้งในด้านของ บุคลิก หน้าตา น้ำเสียง และการแสดง แต่ในขณะเดียวกัน วิธีนี้ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
2. เลือกหานักแสดงด้วยการส่งโปรไฟล์นักแสดงพร้อมกับผลงานที่นักแสดงแต่ละคนเคยทำมาให้ทางทีมและลูกค้าได้เลือก ซึ่งวิธีนี้จะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
Responsive image
นักแสดงฟิตติ้งเสื้อผ้า (Fitting)
การนำเสนอเสื้อผ้า กับ บทบาทของนักแสดงนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าหากเสื้อผ้าของนักแสดงไม่สมกับบทบาทก็จะทำให้วิดีโอดูไม่สมูท ไม่สมจริง สิ่งที่สำคัญของเสื้อผ้า นอกจากความสวยงามแล้ว ก็คือความเหมาะสมกับนักแสดง เหมาะสมกับ Mood&Tone และ สถานการณ์ของเรื่องที่กำลังเกิดขึ้น
Responsive image
หาสถานที่ถ่ายทำ (Location scout)
Location Scout จะเป็นขั้นตอนการไปดูยังสถานที่ที่จะถ่ายทำ ซึ่งขั้นตอนนี้จะเกิดหลังจากที่ทำสตอรี่บอร์ดเสร็จเรียบร้อย เพื่อให้ภาพทั้งหมดนิ่งสมบูรณ์ก่อน จึงจะเริ่มหาสถานที่สำหรับถ่ายทำ โดยปกติแล้วคนที่ทำหน้าที่นี้คือ ฝ่ายหาโลเคชั่น หรือ Location Scout โดยอาจจะมีผู้กำกับและโปรดิวเซอร์ไปด้วย เพื่อให้ได้สถานที่ถ่ายทำ ที่ตรงกับภาพที่ต้องการ
Responsive image
สำรวจสถานที่ถ่ายทำ (Survey)
การ Survey คือการที่เราไปตาม Location ต่างๆ เพื่อดูสถานที่ว่าสถานที่นั้นๆเหมาะสมในการถ่ายงานของเราหรือไม่ ซึ่งการ Survey จะเกิดขึ้นในกรณีที่เราไม่ได้ถ่ายทำกันที่ Studio ก็จำเป็นจะต้องหาสถานที่อื่นเพื่อใช้ในการถ่ายทำ
Responsive image
บล็อคช็อตก่อนวันถ่ายทำจริง (Block shot)
การ Blockshot นั้นเปรียบเสมือนการเตรียมตัวและซ้อมถ่ายทำโดยการไปยังสถานที่ที่จะถ่ายทำจริง สิ่งที่เกิดขึ้นในวัน Block shot คือ
1.) blocking จุดของนักแสดง (หรือ Obiect หลัก) ในแต่ละซีนตามสตอรี่บอร์ดที่ถูก approve โดยลูกค้าแล้ว
2.) DOP จะblocking มุมกล้อง ระยะภาพตามสตอรี่บอร์ดที่ถูก approve โดยลูกค้าแล้ว ว่าตามสถานที่จริงสามารถทำได้ตามสตอรี่บอร์ดที่ approve แล้ว 100% ไหม
3.) และในวันที่เรา block shot เราจะวางแผนการถ่ายทำ เพื่อให้วันที่เราถ่ายทำจริงมี flow และเป็นไปตามแผนที่ทีมวางไว้ ซึ่งมันคือการทำ Pre-production management
Responsive image
ตารางเวลาวันถ่ายทำวิดีโอ (Break down)
กำหนดการทั้งหมดในวันถ่ายทำเพื่อทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจในรายละเอียดตรงกัน โดยจะนำ Shooting บอร์ดมาทำเป็น Breakdown ให้เห็นว่าตารางในการถ่ายทำเป็นอย่างไร แต่ละ Shot มีรายละเอียดปลีกย่อยอย่างไร รวมไปถึงการกำหนด Shot ถ่ายว่า เราจะถ่าย Shot ไหนก่อนหรือหลัง โดยเราไม่ได้ยึดลำดับกาารถ่ายทำตามสตอรี่บอร์ด เราจะยึดลำดับการถ่ายทำก็ตาม Location/ มุมกล้อง/ เงื่อนไขต่างๆของนักแสดงสถานที่ และองค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้วันถ่ายทำเราถ่ายทำแต่ละซีนให้เสร็จตามเวลาที่กำหนดได้ จริงๆมันคือการบริหารเวลาการถ่ายทำ ที่ทำให้ทุกทีมทำงานเข้าใจตรงกันนั้นเอง
Responsive image

ผู้กำกับภาพ (Director of photography)
หรือที่รู้จักกันในชื่อ DP หรือ Dop หมายถึง ช่างภาพ / ผู้กำกับมุมภาพ ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลเรื่องการถ่ายทำทั้งหมด รวมไปถึงการจัดแสง ซึ่งโดยปกติแล้วผู้กำกับภาพจะประสานงานร่วมกันกับทีมกล้อง ทีม grip และทีมไฟ ซึ่งในการทำงาน DP จะทำหน้าที่ในการถ่ายทอดเรื่องราวที่ผู้กำกับต้องการ ให้ภาพนั้นสื่อออกมาได้อย่างชัดเจน รวมไปถึงวิธีการถ่าย ว่าจะเล่ายังไง จะขายยังไง ให้แต่ละช็อตนั้นทำงานด้วยภาพได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด อีกทั้งการเป็น DP จะต้องมีความสามารถในการใช้อุปกรณ์ทั้งกล้องและกริป ฝึกฝนและหาความรู้เพิ่มอยู่เสมอ เพื่อนำมาปรับปรุงงานใหดีขึ้นไป
Responsive image
ผู้ควบคุมกล้อง (Camera operator)
ผู้ควบคุมกล้องระหว่างการถ่ายทำ ปฏิบัติหน้าที่ในความกำกับดูแลของ Dop ซึ่งตำแหน่งนี้มักจะถูกใช้ในการถ่ายหนัง หรือ ซีรีส์ ส่วนในการถ่ายโฆษณานั้น ส่วนใหญ่แล้ว Dop จะเป็นผู้ควบคุมกล้องด้วยตัวเอง ซึ่งในตำแหน่งนี้อาจเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องอุปกรณ์ที่แตกต่างกันออกไปเช่น Steadycam operate ที่ DP จะคอยแค่กำกับภาพให้เป็นไปตามที่ต้องการ
Responsive image
ผู้ช่วยกล้อง 1 (First Assistant Camera)
ผู้ช่วยกล้อง 1 หรือ Focus puller ทำหน้าที่ควบคุมความคมชัดของภาพ และยังมีหน้าที่ขนย้ายหรือช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ให้กับช่างภาพเมื่อจำเป็น ซึ่งการเลือกใช้ผู้ช่วยกล้อง 1 นั้น DP จะเลือกจากประสบการณ์การทำงานที่เคยร่วมงานกัน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นทั้งในเรื่องอุปกรณ์และการควบคุมโฟกัสภาพ
Responsive image
ผู้ช่วยกล้อง 2 (Second Assistant Camera)
ผู้ช่วยกล้อง 2 ทำหน้าที่ควบคุมดูแลอุปกรณ์กล้องและเลนส์ของช่างภาพ หรือที่เราเห็นทั่วไปตามกองนั่นคือคนที่ตีสเลท และยังมีหน้าที่ช่วยดูแลเรื่องการ Record กำหนดมาร์คตำแหน่งโฟกัสให้กับผู้ช่วยกล้อง 1 ทำหน้าที่เปลี่ยนเลนส์หรือจัดการอุปกรณ์กล้อง เตรียมความพร้อมให้กับช่างภาพในการทำงาน
Responsive image
ฟิล์มโหลดเดอร์ (DIT Film loader)
ผู้ดูแลและจัดการระบบการจัดเก็บไฟล์ฟุตเทจภายในกอง / ทำ Look up สำหรับออกไฟล์ PRORES / เช็คฟุตเทจงานที่ถ่ายทำว่ามีปัญหาหรือไม่ และยังมีหน้าที่คอยเช็คค่าความต่อเนื่องของแสงในแต่ละซีน สามารถแจ้งความผิดพลาดต่างๆที่อาจเกิดขึ้นให้กับผู้กำกับและ DP ทราบได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับฟุตเทจที่ถ่ายทำ
Responsive image
ผู้กำกับ (Director)
ผู้กำกับ ทำหน้าที่กำกับดูแลภาพรวมของทุกส่วนในชิ้นงาน ให้ได้งานออกมาตามที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งผู้กำกับนั้นจะเป็นหัวหน้าฝ่ายสร้างสรรค์งานที่มีส่วนในทุกกระบวนการผลิต กำกับดูแล ออกคำสั่งได้ทุกยูนิต เพื่อให้ได้งานตรงตามเป้าหมายและตอบโจทย์ลูกค้า อีกทั้งผู้กำกับยังต้องคอยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าทั้งกระบวนการตั้งแต่ Pre-production ไปจนถึง Post-production อาศัยทั้งความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน เพื่อให้ได้งานที่ดีที่สุดออกมา
Responsive image
ผู้ช่วยผู้กำกับ 1 (First Assistant Director)
ผู้ช่วยผู้กำกับ 1 ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้กำกับและทีมงานส่วนอื่นๆเช่น ทีมกล้อง ทีมไฟ หรือทีมงานยูนิตอื่นๆ เพื่อให้การถ่ายทำเป็นไปตามกำหนดเวลาที่วางไว้ โดยในขั้นตอนการทำ Pre-production จะเป็นผู้จัดทำเบรคดาวน์ เพื่อวางแผนใช้ในการถ่ายทำ
Responsive image
ผู้ช่วยผู้กำกับ 2 (Second Assistant Director)
ผู้ช่วยผู้กำกับ 2 ทำหน้าที่ประสานงานต่อจากผู้ช่วยผู้กำกับ 1 ดูแลความเรียบร้อยของนักแสดง ประสานงานฝ่ายต่างๆ ภายในกองขณะถ่ายทำเช่น ฉาก ทีมอาร์ต นักแสดง Extra เป็นต้น เช่นการเตรียมนักแสดงเข้าฉาก เช็คความพร้อมของฉาก พรอพ เพื่อที่จะถ่ายทำช็อตถัดไป
Responsive image
โปรดิวเซอร์ (Producer)
ผู้ดูแลการผลิตของงานทั้งหมด ซึ่งจะต้องมีการดูแลเรื่องต่างๆให้อยู่ในงบประมาณ และจัดการด้านธุรกิจควบคู่ไปกับงานโปรดักชั่นด้วย และมีส่วนสำคัญในการจัดหา ประสานงานทีมงานต่างๆ เพื่อให้งานนั้นๆเกิดขึ้นได้ตามวัตถุประสงค์และงบประมาณที่มี
Responsive image
ผู้ช่วยโปรดิวเซอร์ (Assistant Producer)
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Co-producer ทำหน้าที่ในการ support การทำงานทั้งหมดจากโปรดิวเซอร์
Responsive image
คนเขียนบท (Screenwriter)
คนเขียนบท รับหน้าที่ในการเขียนบทหนัง บทโฆษณา พัฒนาบทร่วมกันกับผู้กำกับตั้งแต่ขั้นตอนแรกเริ่ม ไปจนถึงวันถ่ายทำ ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่เขียนบทจะต้อง เข้าใจโจทย์ที่ได้รับ และสามารถถ่ายทอดหรือจินตนาการออกมาเป็นเรื่องราว เพื่อให้การสื่อสารนี้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด
Responsive image
คนเช็กสคริปต์หน้ากองถ่าย (Script Supervisor)
ผู้ดูแลตรวจสอบและควบคุมสคริปต์ กำหนดสคริปต์ในแต่ละช็อตให้มีความต่อเนื่องและสมบูรณ์ระหว่างการถ่ายทำ
Responsive image
ผู้กำกับแสง (Gaffer)
หรือผู้กำกับแสง ทำหน้าที่ออกแบบและควบคุมแสงในการถ่ายทำ โดยปกติแล้ว Gaffer จะทำงานร่วมกันกับ DP และผู้กำกับ เพื่อคอย Set แสงให้เป็นไปตาม Mood and tone ของงานนั้นๆ โดย Gaffer จะมีทีมงานในการทำงานในตำแหน่งต่างๆ ได้แก่ Electrician, Grip และ Bestboy ซึ่งจะเป็นฝ่าย Support การทำงานให้กับ Gaffer ในการกำกับแสง
Responsive image
หัวหน้าช่างไฟ (Electrician)
หัวหน้าช่างไฟ ผู้ดูแลอุปกรณ์ไฟ การสั่งจ่ายอุปกรณ์ไฟในกองถ่าย และ set up ไฟตามความต้องการของ Dop และ ผู้กำกับ / ตรวจเช็คความเรียบร้อยของระบบไฟ ในกองถ่าย ให้เป็นไปอย่างราบรื่น
Responsive image
ทีมดูแลอุปกรณ์เสริมของกล้อง (Grip)
ผู้ดูแลอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวกับกล้อง ทำหน้าที่ในการ support อุปกรณ์ให้กับ Dop เช่น Slider, Mini jib, ราง Dolly เป็นต้น ซึ่งหลายคนอาจจะแปลกใจว่าทำไมฝ่ายที่ดูแลเรื่องอุปกรณ์กล้องถึงมาอยู่กับทีมไฟ เพราะอุปกรณ์สำหรับติดตั้ง Grip และอุปกรณ์ไฟนั้นสามารถใช้ด้วยกัน รวมไปถึงการทำงานของทีมไฟ และ กล้องนั้นก็จะสัมพันธ์กันตลอดเวลาโดย Grip นั้นจะทำงานคู่กับทั้งฝ่ายแสงและกล้อง โดยตำแหน่งหัวหน้าจะถูกเรียกว่า Key Grip ซึ่ง ฝ่าย Grip นั้นจะทำงานคู่กับ Dop เป็นหลัก
Responsive image
ผู้ช่วยทีมไฟ (Best boy)
ผู้ช่วยของ Gaffer, Electrician และ Grip มีหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ ดูแลอุปกรณ์ไฟและ Grip ซึ่งโดยปกติแล้ว Best Boy จะเป็นตำแหน่งแรกที่ทุกคนในทีมเคยทำมาก่อน เพื่อเรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการทำงานของตำแหน่ง อื่นๆ และคอย Support ให้ตำแหน่งอื่นๆทำงานได้ flow มากขึ้น

Responsive image
บูมแมน/คนอัดเสียง (Boom operator)
ผู้บันทึกเสียงที่ใช้ไมค์แบบยื่น หรือที่รู้จักในชื่อ ไมค์บูม โดย Boom Man นั้นจะทำหน้าที่อัดเสียงนักแสดงผ่านไมค์บูม และในสมัยนี้นั้นตำแหน่งของ Boom Operator นั้นจะทำหน้าที่รวมกันกับ Sound Man ด้วย ซึ่งจะคอยดูแลเรื่องการบันทึก audio ต่างๆ เช่น บทพูด, เสียงแอมเบียนต์ เพื่อนำมาใช้ในการตัดต่อ ซึ่งการทำงานของทีมซาวน์นั้นก็แล้วแต่ขนาดของกองและความใหญ่ของตัวงาน Boom Man กับ Sound Man อาจจะทำงานแยกหน้าที่กันก็ได้ หรือคนเดียวอาจจะทำทั้ง 2 หน้าที่เลยก็สามารถทำได้เช่นกัน
Responsive image
ทีมอาร์ต (Art director team)
ทีมที่ดูแลเกี่ยวกับอุปกรณ์ประกอบฉาก และ Props ซึ่งจะทำหน้าที่ หา Props หรือ ทำ Props ขึ้นมาเอง รวมไปถึงเป็นคน Set up ฉากทั้งหมด ตั้งแต่ทาสี ประกอบฉาก ไปจนถึงหา Props ทั้งหมดที่ต้องใช้ ซึ่งจะมีหัวหน้าทีม Art Director ทำหน้าที่กำหนดองค์ประกอบศิลป์ภายในฉากนั้นๆ ทั้งการดีไซน์ Set และ Props และคอยแจกแจงหน้าที่ในการทำงานให้กับคนในทีม
Responsive image
ผู้จัดอุปกรณ์ประกอบฉาก (Prop master)
หนึ่งในตำแหน่งที่อยู่ในทีม Art Director ซึ่งตำแหน่งนี้คือคนที่รับผิดชอบทุกอย่างที่เกี่ยวกับ Props ตั้งแต่จัดหาอุปกรณ์ไปจนถึงการดีไซน์ฉากให้มีความสมบูรณ์
Responsive image
ผู้ช่วยทีมอาร์ต (Art PA)
หรือ Art Production Assistant ผู้ช่วยหัวหน้าทีม Art ที่คอยทำงานตามที่หัวหน้า Art Director มอบหมายให้ รวมไปถึงคอยหาและประดิษฐ์ Props ร่วมกันกับ ทีม Art Director ให้ได้ตรงตามความต้องการ
Responsive image
นักแสดงหลัก (Main Talent)
นักแสดงหลัก ผู้ทำหน้าที่เป็นตัวดำเนินเรื่องราวหลัก หรือถ้าในหนังก็จะเรียกว่า ตัวพระเอก นางเอก ซึ่งนักแสดงหลักนั้นมีผลต่อวิดีโอทั้งเรื่องเป็นอย่างมาก ทั้งหน้าตา คาแรคเตอร์ น้ำเสียง รวมไปถึงการแสดง ซึ่งนักแสดงแต่ละคนก็จะมี สไตล์ และ คาแรคเตอร์ที่แตกต่างกันออกไป การเลือกนักแสดงหลักที่จะนำมาเล่นในงานนั้นจึงต้องมีการเลือกจากหลายๆปัจจัย และขึ้นอยู่กับเนื้อเรื่องเป็นหลีก เช่น หากเนื้อเรื่องมีบทที่ยาก เน้นอารมณ์เยอะ ก็อาจจะต้องเลือกนักแสดงจาก การแสดงเป็นหลัก แต่หากเนื้อเรื่องมีความเรียบง่าย เน้นความสวยงาม ก็อาจจะต้องเลือกจาก หน้าตา คาแรกเตอร์ เป็นหลัก
Responsive image
นักแสดงสมทบ (Support Talent)
นักแสดงสมทบ หรือถ้าในหนัง นักแสดงสมทบนั่นก็คือ เพื่อนพระเอก ตัวโกง หรือตัวละครอื่นๆที่มีบทหลัก แต่ไม่ใช่ พระเอก และ นางเอก ความสำคัญของนักแสดงสมทบนั้นไม่แพ้กับนักแสดงหลัก ตัวนักแสดงสมทบนั้นก็มีหน้าที่ส่งเสริมเนื้อเรื่อง อารมณ์ และยังทำให้เนื้อเรื่องดูมีมิติมากยิ่งขึ้น
Responsive image
ช่างแต่งหน้า และช่างทำผม (Make up and hair stylist)
Make up Artist หรือ ช่างแต่งหน้า มีหน้าที่แต่งหน้าตัวละครเพื่อทำให้บุคลิคหรือตัวตนของนักแสดงในฉากนั้นดูโดดเด่นขึ้นหรือตรงตามคาแรกเตอร์ในเรื่อง Hair Stylist หรือ ช่างทำผม ซึ่งคอยดูแลเรื่องทรงผม การเซ็ตผมให้อยู่ทรง การดีไซน์ทรงผมให้เข้ากับบุคลิคของตัวละครนั้นๆๆ ซึ่งบางครั้งก็จะเป็นคนเดียวกัน หรือในกรณีที่มีนักแสดงหลายคน มีการแต่งหน้าและทำผมที่หลายขั้นตอนขึ้น ก็จะแยกทีมงานออกเป็น 2 ส่วน เพื่อรับผิดชอบในส่วนงานของตัวเอง
Responsive image
ผู้ดูแลเสื้อผ้านักแสดง (Costume Designer)
ผู้ดูแลและจัดการเรื่องเสื้อผ้าของนักแสดงในแต่ละซีนที่จะใช้เข้าฉาก
Responsive image
สวัสดิการกองถ่าย (Craft Services)
สวัสดิการกองถ่าย ดูแลเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม ภายในกองถ่าย
Responsive image
พนักงานขับรถ (Driver)
พนักงานขับรถ ทำหน้าที่ขนส่งอุปกรณ์และทีมงานไปยังสถานที่ถ่ายทำ
Responsive image

เลือกเพลงสำหรับตัดต่อ (Musicscore)
การเลือกเพลง คือ Editor จะทำการเลือกเพลงที่จะนำมาใช้ในงานนำไปเสนอขายลูกค้าเป็น Option เพื่อให้ลูกค้าเลือกเพลง เพื่อไม่ให้เกิดการปรับเปลี่ยนในภายหลัง ที่อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ ซึ่งการเลือกเพลงจริงๆแล้วควรเลือกเพลงให้เสร็จตั้งแต่ก่อนเข้าสู่กระบวนการ Post-production เนื่องจากเพลงมีส่วนสำคัญที่จะกำหนดจังหวะในการตัดต่อ
Responsive image
ตัดต่อ (Editing)
การตัดต่อจะเกิดจาก Editor หรือ ผู้ลำดับภาพ ซึ่งจะมีหน้าที่นำฟุตเทจที่ถ่ายมาตัดต่อและร้อยเรียงเนื้อเรื่องเข้าด้วยกัน ซึ่งการตัดต่อจะมีหน้าที่ในการเล่าเรื่องทั้งทางภาพ และทางอารมณ์ โดยปกติแล้วการตัดต่อจะมีการลำดับเรื่องราว ตามสตอรี่บอร์ดของงาน แต่ในบางครั้งหากการตัดต่อตามสตอรี่บอร์ดมันดูธรรมดา Editor ก็จะมีหน้าที่เรียบเรียงการเล่าเรื่องและการลำดับภาพใหม่
Responsive image
โมชั่นกราฟฟิค (Motion Graphic)
การทำภาพเคลื่อนไหวประกอบ เพื่อทำการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบกราฟิกเช่น Infographic, Text animate, การ Composite เป็นต้น และยังเพิ่มความสวยงามให้กับงานวิดีโอ ซึ่งการทำ Motion Graphic ก็จะแบ่งออกเป็นหลากหลายแบบ มีทั้งแบบ 2D และ 3D ขึ้นอยู่กับความต้องการและงบประมาณของลูกค้า
Responsive image
คอมพิวเตอร์กราฟฟิค (CGI)
Computer Generated Imagery หรือตัวย่อ CGI หรืออย่างที่คนไทยเรียกกันในชื่อ CG ซึ่งการทำ CG คือการสร้างภาพหรือวัตถุอื่นๆ ด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานในฉากนั้นให้สมบูรณ์มากขึ้น
Responsive image
การรีทัชวิดีโอ (Retouch Video)
คือ การรีทัช / ซ่อมแซม / ตัด ปะ หรือสร้าง Element ต่างๆ ขึ้นมาเพื่อแก้ไขให้เกิดความสมบูรณ์ของช็อต โดยมีตำแหน่ง Online Artist ทำหน้าที่รับผิดชอบในส่วนนี้
Responsive image
3D โมเดล (3D Model)
คือ การสร้างภาพสมจริง 3 มิติ ซึ่งในงานโฆษณา จะจำแนกตามประเภทของ Element ยกตัวอย่างเช่น 3D Element, Character Rigging, Shot dynamic ยากๆ เช่น การทำ น้ำ ไฟ ของแตกหัก กระจก เป็นต้น
Responsive image
คัลเลอร์เกรดดิ้ง (Color Grading)
คือ การปรับแต่งสีวิดีโอโดย Colorist ซึ่งจะทำให้วิดีโอมีสีสันและสามารถถ่ายทอดเรื่องราวได้ตามสตอรี่บอร์ด หรือ Mood and tone ของผกก. ที่ได้วางไว้ จะทำให้ลูกค้าได้งานตามความต้องการ
Responsive image
นักพากย์เสียงโฆษณา (Announcer)
นักพากย์เสียงโฆษณา ผู้ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านเสียง มีความสามารถในการใช้น้ำเสียง โทน และจังหวะในการพูดตามสคริปต์ ซึ่งส่วนใหญ่ Announcer มักจะใช้กับงานโฆษณาเป็นหลัก
Responsive image
ห้องอัดเสียง (Sound Studio)
สตูดิโอที่ใช้สำหรับการลงเสียง อัดเสียง Announcer โดยจะมี Sound engineer เป็นผู้ควบคุมการอัดเสียง ซึ่งเรทราคาก็จะแตกต่างกันไป โดยมีทั้งการคิดราคาเป็นคิวต่อวัน หรือต่อชั่วโมง
Responsive image
วันตรวจและแก้ไขงานกับลูกค้า (Double head day)
คือ วันที่มีการตรวจและแก้ไขงานจากลูกค้าไปพร้อมกันกับผู้กำกับและทีมงาน ทำให้ลูกค้าสามารถบอกสิ่งที่ต้องการใส่ลงไปในช่วง Post-production รวมถึงแชร์ไอเดียกันกับทีมงาน ซึ่งจะทำให้ได้ข้อสรุปที่ลงตัว และทำให้ได้งานออกมาตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
Responsive image
ไฟนอลมิกซ์ (Final mixed)
คือการทำ Mix master เรื่องเสียงจาก Sound Studio โดย Sound engineer จะทำให้ได้ไฟล์เสียงที่คมชัด สมบูรณ์ในเรื่องย่านและระดับความดัง รวมไปถึงเรื่อง Output สำหรับนำไปใช้ในช่องทางต่างๆ ด้วย
Responsive image